วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559

10.ซอฟแวร์ที่ใช้งานออกแบบ3มิติ

Google SketchUp
Google SketchUp (โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างโมเดล 3 มิติ) : โปรแกรม SketchUp เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Google ชื่อเสียงเรียงนามของผู้พัฒนา ก็คงไม่ต้องบรรยายแล้วว่าดีหรือไม่ดี ที่คราวนี้เข็นเจ้า โปรแกรมออกแบบบ้าน หรือเอาไว้ สร้างโมเดล 3 มิติ ออกมาภายใต้ชื่อ Google SketchUp ออกมาให้คนอยากออกแบบ อยากเล่น อยากลอง อยากฝึกใช้ได้ทดลองใช้ หรือจะให้เด็กๆ ลองใช้ โปรแกรมออกแบบบ้าน ฝึกจินตนาการ ของเด็ก และเยาวชน กับ โปรแกรม SketchUp ตัวนี้ก็ไม่เลว นะ

โปรแกรมออกแบบบ้าน ชั่วหัวว่าใช้ออกแบบบ้าน แต่จริงๆ ไม่ได้เป็นแค่ โปรแกรมออกแบบบ้าน อย่างเดียวแต่ โปรแกรม Google SketchUp ยังสามารถ ออกแบบงานด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม หรือ เครื่องจักร เครื่องกล กันได้อย่างง่ายๆ แถมเผลอๆ หาก ออกแบบ กันดีๆ ยังเอาไปใช้งานจิงๆ ได้อีกด้วย รวมถึง โปรแกรม SketchUp นี้ยังสามารถนำไป ออกแบบ วัตถุเล็กๆ น้อยๆ อาทเช่น ทั้ง ออกแบบระเบียงบ้าน ออกแบบหน้าต่าง ออกแบบประตู ออกแบบตู้ ออกแบบโต๊ะ ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ งานไม้ งานต่อเติมบ้าน ออกแบบรถ (เหมือนภาพประกอบด้านบน) หรือแม้แต่ ออกแบบยานอวกาศ ในฝัน ยังออกแบบได้ เอากับเค้าสิ จะเป็นยังไงบ้างลองกันเลยครับ

นอกจากนี้แล้ว Google SketchUp หรือ โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างโมเดล 3 มิติ ตัวนี้ ยังสามารถส่งออกผลงาน (Export) ที่ออกแบบเสร็จ (วาดเสร็จ) มาในรูปแบบของไฟล์ .BMP, .PNG, .JPG, .TIF สำหรับเวอร์ชั่นฟรี และ ส่งออกเป็นไฟล์ .pdf, .eps, .epx, .dwg, and .dxf. สำหรับเวอร์ชั่นโปร

หมายเหตุ : ตั้งแต่ วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) เป็นต้นมา โปรแกรม Google SketchUp ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น โปรแกรมออกแบบบ้าน SketchUp Make หลังถูกบริษัท Trimble ซื้อไปจาก Google Inc. ทำให้เป็น โปรแกรมออกแบบบ้าน ที่เปลี่ยนเจ้าของบ่อยที่สุดนับตั้งแต่เริ่มพัฒนามา

โดยประวัติของโปรแกรมนี้ เริ่มแรกเดิมทีมาจากบริษัท @Last Software ในปี ค.ศ. 1999 หลังจากนั้นโดน Google Inc. เข้าซื้อในปี ค.ศ. 2006 และก็หลังจากนั้นอีกหกปี ในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ทางบริษัท Trimble ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการออกแบบ วาดแบบชั้นนำของสหรัญอเมริกา ก็ได้เข้าซื้อโปรแกรม SketchUp มาจาก Google Inc. อีกทีหนึ่ง

9..ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ2มิติ

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ(2มิติ)
1.LibreCAD (โปรแกรมออกแบบ โปรแกรมวาดแบบ 2 มิติ) 2.0.7.1
ดาวน์โหลดโปรแกรม LibreCAD โปรแกรมออกแบบ วัตถุ 2 มิติ (2D) หรือเรียกว่า โปรแกรมวาดแบบ ก็ได้ ใช้ออกแบบวัตถุต่างๆ ออกแบบเสื้อ ออกแบบบ้าน วัตถุต่างๆ ได้ตามใจชอบ ฟรี 100%
.ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ2มิติ


2.QCad (โปรแกรมออกแบบ CAD แบบ 2 มิติ ฟรี) 3.2x
โปรแกรมออกแบบ ประเภท CAD 2 มิติ แจกฟรี QCad ขนาดเล็ก สามารถใช้ออกแบบได้หลากหลาย หลายรูปทรง วาดรูป ลากเล้น โค้งเว้า ออกแบบร่างต่างๆ มีรูปแบบตัวอักษรมากกว่า 30 แบบ



3.BricsCAD (โปรแกรมเขียนแบบ รองรับไฟล์ .DWG เหมือน AutoCAD) 2014 ซอฟต์แวร์ไทย
โปรแกรมเขียนแบบ BricsCAD มีความสามารถทำงานพื้นฐานเหมือนโปรแกรม AutoCAD (ออโต้แคด) เปิดไฟล์ DWG ได้แถมยังมีฟังก์ชั่นพิเศษที่สามารถทำงานได้เหนือกว่า และมีประสิทธิภาพสูง


4.Ashampoo 3D CAD Architecture (โปรแกรมออกแบบสิ่งก่อสร้าง อาคาร สนาม) 5.0.0
ดาวน์โหลดโปรแกรม Ashampoo 3D CAD Architecture ออกแบบสิ่งก่อสร้าง อาคาร ออกแบบห้องเดี่ยว อาคาร อพาร์ทเม้นท์ ออกแบบสนาม ออกแบบสวนหย่อม วางเฟอร์นิเจอร์เพื่อเนรมิตแบบห้องต่างๆ


วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

8..เทคโนโลยีสะอาด

เทคโนโลยีสะอาด 
เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology : CT) หมายถึง การพัฒนา ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดผลกระทบ ความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด และมีของเสียเกิดขึ้นน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย ด้วยการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิตควบคู่กันไป


หลักการของเทคโนโลยีสะอาด

เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดเป็นหลักการป้องกันมลพิษ (Pollution Prevention) ที่ใช้หลักการลดของเสียเหลือน้อยที่สุด (Waste Minimization) โดยวิธีการแยกสารมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือการเปลี่ยนวัตถุดิบที่ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ไม่เป็นอันตราย รวมทั้งการลดปริมาณและความเข้มข้นขององค์ประกอบในของเสียด้วยการนำไปใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการนำกลับไปใช้ใหม่ (Recycle) จนไม่สามารถนำของเสียไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว ก็จะนำไปบำบัดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไป โดยมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง นอกจากนี้ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้นั้นยังต้องประกอบด้วยทัศนคติที่ดีและการร่วมมือกันอย่างเต็มที่จากบุคคลากรทุกฝ่ายอีกด้วย


7. 5W1H

 5W1H

การใช้เทคนิค 5W1H ในการวิเคราะห์ปัญหา
5w1hจากเว็บ en.wikipedia.org กล่าวไว้โดยสรุปว่า 5W1H มีการบันทึกไว้โดย Rudyard Kipling ใน “Just So Stories” ซึ่งเป็นบทกวีประกอบเรื่อง “The Elephant’s Child” โดยเปิดเรื่องด้วย

“I keep six honest serving-men
(They taught me all I knew);
Their names are What and Why and When
And How and Where and Who.”

และนี่คือเหตุผลหนึ่งที่วิธีแก้ปัญหา 5W1H ถูกเรียกว่า “Kipling Method” ซึ่งวิธีนี้จะช่วยในการสำรวจปัญหาโดยการท้าทายด้วยคำถาม

5W1H มีส่วนประกอบดังนี้
Who ใคร คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า ใครรับผิดชอบ ใครเกี่ยวข้อง ใครได้รับผลกระทบ ในเรื่องนั้นมีใครบ้าง
What ทำอะไร คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า เราจะทำอะไร แต่ละคนทำอะไรบ้าง
Where ที่ไหน คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า สถานที่ที่เราจะทำว่าจะทำที่ไหน เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นอยู่ที่ไหน
When เมื่อไหร่ คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า ระยะเวลาที่จะทำจนถึงสิ้นสุด เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเมื่อวัน เดือน ปี ใด
Why ทำไม คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า สิ่งที่เราจะทำนั้น ทำด้วยเหตุผลใด เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้น หรือเกิดเหตุการณ์นั้นๆ
How อย่างไร คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า เราจะสามารถทำทุกอย่างให้บรรลุผลได้อย่างไร เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำอย่างไรบ้าง
การใช้เทคนิค 5W1H ในการวิเคราะห์แก้ปัญหานั้น ส่วนใหญ่เราจะใช้ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการตั้งคำถาม Who is it about? What happened?  When did it take place? Where did it take place? และ Why did it happen? การตั้งคำถามดังกล่าวจะทำให้เราได้คำตอบในแต่ละประเด็น แต่ละข้อของคำถาม

เทคนิค 5W1H จะใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือปัญหา ได้เกือบทุกรูปแบบ เทคนิค  5W1H เป็นการคิดวิเคราะห์ (Analysis Thinking) ที่ใช้ความสามารถในการจำแนก แยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ของสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งอาจจะเป็นวัตถุ สิ่งของ เรื่องราว หรือเหตุการณ์ นำมาหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นความเป็นจริง หรือที่เป็นสิ่งที่สำคัญ จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาจัดระบบ เรียบเรียงใหม่ให้ง่ายแก่ต่อการทำความเข้าใจ

ประโยชน์ของการคิดวิเคราะห์  5W1H
ทำให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์นั้น
ใช้เป็นฐานความรู้ในการนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา
ทำให้เราหาเหตุผลที่สมเหตุสมผลให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
ทำให้เราสามารถประมาณความน่าจะเป็นได้
ตัวอย่างการใช้ 5W1H ในการวิเคราะห์ข้อมูล
เริ่มต้นก็คือ เราต้องตั้งคำถามและพยายามหาคำตอบในแต่ละหัวข้อคำถาม โดยการตั้งคำถามอาจไม่จำเป็นต้องเรียงข้อของคำถาม แต่พิจารณาจากความเหมาะสม การยกตัวอย่างอาจจะยังไม่สมบูรณ์เท่าไร แต่จุดประสงค์คือต้องการให้เห็นหรือเข้าใจแนวความคิดในการตั้งคำถามเท่านั้น เราจะยกตัวอย่างการเริ่มต้นทำธุรกิจ

คำถามแรก W  - Who ตัวแรก – ใครคือลูกค้าของเรา? ใครคือกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าของเรา? เราควรระบุกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าของเราได้ เช่น อายุ, เพศ, การศึกษา, ศาสนา, อาชีพ, เงินเดือน, ที่อยู่อาศัย, ขนาดครัวเรือน พฤติกรรมการบริโภค ข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยทำให้เราสามารถ ระบุกลุ่มเป้าหมายลูกค้าของเราได้ชัดเจน เพื่อที่เราจะสามารถวางแผนการผลิต แผนการตลาด หรือแผนการสร้างสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าของเราได้อย่างถูกต้อง

คำถามที่สอง W – What – เราต้องรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกค้าของเราต้องการ? เราควรระบุรูปแบบของสินค้าหรือบริการของเราได้ว่า รูปแบบไหนที่ลูกค้าของเราต้องการ และเราสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าของเราได้ และอะไรที่จะทำให้เราสามารถสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าหรือบริการของเราจากคู่แข่งของเราได้

คำถามที่สาม W – Where – ลูกค้าของเราอยู่ที่ไหน? เราควรระบุได้ว่าลูกค้าของเราอยู่ที่ไหนบ้าง และที่ไหนคือที่ที่เราจะสามารถนำเสนอสินค้าของเราให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

คำถามที่สี่ W – When – เมื่อไรที่ลูกค้าของเรามีความต้องการสินค้า? เราควรระบุได้ว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราต้องการสินค้าหรือบริการของเราเมื่อไร ในช่วงเวลาไหน และต้องการบ่อยแค่ไหน ซึ่งจะช่วยทำให้เราสามารถกำหนดและวางแผนต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าของเราได้อย่างถูกต้อง

คำถามที่ห้า W – Why – ทำไมลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราต้องซื้อหรือใช้บริการของเรา? เราควรระบุได้ว่าทำไมลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราจะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของเรา แทนที่จะซื้อจากคู่แข่งของเรา หรือทำไมเราต้องเข้ามาทำธุรกิจนี้

คำถามสุดท้าย H – How – เราจะเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราได้อย่างไร? เราควรระบุได้ว่า เราจะสามารถเข้าถึงลูกค้าของเราได้ด้วยวิธีไหน อย่างไร ซึ่งเราควรมีการวางแผนและกำหนดวิธีการที่เราสามารถเข้าถึงลูกค้าของเราได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากที่สุด





















6.ตัวอย่างการออกแบบ

ตัวอย่างการออกแบบ

ปรัชญา

ผลิตบัณฑิตผู้มีความเชี่ยวชาญการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรมอันงดงาม สามารถ ค้นคว้า สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาตน พัฒนาชาติ

ความสำคัญ

ศาสตร์การออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของการขยายตัว ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ศาสตร์การออกแบบผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน ถูกใช้เป็นตัวจักรสำคัญต่อกระบวนการพัฒนา และผลิตสินค้า เพื่อให้ น่าใช้ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลในการยกระดับคุณภาพชีวิต ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์เพื่อการอุปโภคในประเทศ และเพื่อการส่งออก หลักสูตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ พ.ศ. 2555 มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์ หลากหลายประเภท มีความรอบรู้ในกระบวนการ วิธีการ ศาสตร์การออกแบบเทคโนโลยีและการดำเนินธุรกิจ สามารถค้นคว้าเพื่อสร้างสรรค์ และพัฒนางานออกแบบร่วมสมัย ปลูกฝังให้บัณฑิตมีจรรยาบรรณ คุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ

วัตถุประสงค์

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์
เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์นำศาสตร์แขนงต่างๆ อาทิ ศิลปะ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัสดุ กรรมวิธีการผลิต ธุรกิจและการตลาด มาใช้ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์
เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้สร้างสรรค์ เชี่ยวชาญการค้นคว้า และนักวิชาการทางการออกแบบผลิตภัณฑ์
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบ จรรยาบรรณ และสำนึกต่อสังคม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

นักออกแบบผลิตภัณฑ์ในหน่วยงานที่ให้บริการด้านการออกแบบในส่วนราชการและเอกชน
ประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และการออกแบบลักษณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผู้บริหารด้านงานออกแบบผลิตภัณฑ์ในส่วนราชการและเอกชน
นักวิชาการทางการออกแบบผลิตภัณฑ์









5.การออกแบบ

การออกแบบ
การออกแบบมีหลักการพื้นฐาน โดยอาศัยส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทเรียนเรื่อง “ องค์ประกอบศิลป์ ” คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี และพื้นผิว นำมาจัดวางเพื่อให้เกิดความสวยงามโดยมีหลักการ ดังนี้

1. ความเป็นหน่วย (Unity)
ในการออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงานนั้นๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับในส่วนย่อยๆก็คงต้องถือหลักนี้เช่นกัน

2. ความสมดุลหรือความถ่วง (Balancing)
เป็นหลักทั่วๆไปของงานศิลปะที่จะต้องดูความสมดุลของงานนั้นๆ ความรู้สึกทางสมดุลของงานนี้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในส่วนของความคิดในเรื่องของความงามในสิ่งนั้นๆ มีหลักความสมดุลอยู่ 3 ประการ

2.1 ความสมดุลในลักษณะเท่ากัน (Symmetry Balancing)
คือมีลักษณะเป็นซ้าย-ขวา บน-ล่าง เป็นต้น ความสมดุลในลักษณะนี้ดูและเข้าใจง่าย

2.2 ความสมดุลในลักษณะไม่เท่ากัน (Nonsymmetry Balancing) คือมีลักษณะสมดุลกันในตัวเองไม่จำเป็นจะต้องเท่ากันแต่ดูในด้านความรู้สึกแล้วเกิดความสมดุลกันในตัวลักษณะการสมดุลแบบนี้ผู้ออกแบบจะต้องมีการประลองดูให้แน่ใจในความรู้สึกของผู้พบเห็นด้วยซึ่งเป็นความสมดุลที่เกิดในลักษณะที่แตกต่างกันได้ เช่น ใช้ความสมดุลด้วยผิว (Texture) ด้วยแสง-เงา (Shade) หรือด้วยสี (Colour)

2.3 จุดศูนย์ถ่วง (Gravity Balance) การออกแบบใดๆที่เป็นวัตถุสิ่งของและจะต้องใช้งานการทรงตัวจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วงได้แก่ การไม่โยกเอียงหรือให้ความรู้สึกไม่มั่นคงแข็งแรง ดังนั้นสิ่งใดที่ต้องการจุศูนย์ถ่วงแล้วผู้ออกแบบจะต้องระมัดระวังในสิ่งนี้ให้มาก ตัวอย่างเช่น เก้าอี้จะต้องตั้งตรงยึดมั่นทั้งสี่ขาเท่าๆกัน การทรงตัวของคนถ้ายืน 2 ขา ก็จะต้องมีน้ำหนักลงที่เท้าทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน ถ้ายืนเอียงหรือพิงฝา น้ำหนักตัวก็จะลงเท้าข้างหนึ่งและส่วนหนึ่งจะลงที่หลังพิงฝา รูปปั้นคนในท่าวิ่งจุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ที่ใด ผู้ออกแบบจะต้องรู้และวางรูปได้ถูกต้องเรื่องของจุดศูนย์ถ่วงจึงหมายถึงการทรงตัวของวัตถุสิ่งของนั่นเอง

3. ความสัมพันธ์ทางศิลปะ ( Relativity of Arts)
ในเรื่องของศิลปะนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณากันหลายขั้นตอนเพราะเป็นเรื่องความรู้สึกที่สัมพันธ์กัน อันได้แก่

3.1 การเน้นหรือจุดสนใจ (Emphasis or CentreofInterest) งานด้านศิลปะผู้ออกแบบจะต้องมีจุดเน้นให้เกิดสิ่งที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น โดยมีข้อบอกกล่าวเป็นความรู้สึกร่วมที่เกิดขึ้นเองจากตัวของศิลปกรรมนั้นๆ ความรู้สึกนี้ผู้ออกแบบจะต้องพยายามให้เกิดขึ้นเหมือนกัน

3.2 จุดสำคัญรอง ( Subordinate)
คงคล้ายกับจุดเน้นนั่นเองแต่มีความสำคัญรองลงไปตามลำดับซึ่งอาจจะเป็นรองส่วนที่ 1ส่วนที่ 2 ก็ได้ ส่วนนี้จะช่วยให้เกิดความลดหลั่นทางผลงานที่แสดง ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย

3.3 จังหวะ ( Rhythem)
โดยทั่วๆไปสิ่งที่สัมพันธ์กันในสิ่งนั้นๆย่อมมีจังหวะ ระยะหรือความถี่ห่างในตัวมันเองก็ดีหรือสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์อยู่ก็ดีจะเป็นเส้น สี เงา หรือช่วงจังหวะของการตกแต่ง แสงไฟ ลวดลาย ที่มีความสัมพันธ์กันในที่นั้นเป็นความรู้สึกของผู้พบเห็นหรือผู้ออกแบบจะรู้สึกในความงามนั่นเอง

3.4 ความต่างกัน ( Contrast)
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้มีการเคลื่อนไหวไม่ซ้ำซากเกินไปหรือเกิดความเบื่อหน่าย จำเจ ในการตกแต่งก็เช่นกัน ปัจจุบันผู้ออกแบบมักจะหาทางให้เกิดความรู้สึกขัดกันต่างกันเช่น เก้าอี้ชุดสมัยใหม่แต่ขณะเดียวกันก็มีเก้าอี้สมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ด้วย 1 ตัว เช่นนี้ผู้พบเห็นจะเกิดความรู้สึกแตกต่างกันทำให้เกิดความรู้สึก ไม่ซ้ำซาก รสชาติแตกต่างออกไป

3.5 ความกลมกลืน ( Harmomies)

ความกลมกลืนในที่นี้หมายถึงพิจารณาในส่วนรวมทั้งหมดแม้จะมีบางอย่างที่แตกต่างกันการใช้สีที่ตัดกันหรือการใช้ผิว ใช้เส้นที่ขัดกัน ความรู้สึกส่วนน้อยนี้ไม่ทำให้ส่วนรวมเสียก็ถือว่าเกิดความกลมกลืนกันในส่วนรวม ความกลมกลืนในส่วนรวมนี้ถ้าจะแยกก็ได้แก่ความเน้นไปในส่วนมูลฐานทางศิลปะอันได้แก่ เส้น แสง-เงา รูปทรง ขนาด ผิว สี นั่นเอง

ผลิตภัณฑ์ที่ดีย่อมเกิดมาจากการออกแบบที่ดีในการออกแบบผลิตภัณฑ์ นักออกแบบต้องคำนึงถึงหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นเกณฑ์ในการกำหนดคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ที่ดีเอาไว้ว่าควรจะมีองค์ประกอบอะไรบ้างแล้วใช้ความคิดสร้างสรรค์ วิธีการต่างๆ ที่ได้กล่าวมาเสนอแนวคิดให้ผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมตามหลักการออกแบบโดยหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่นักออกแบบควรคำนึงนั้นมีอยู่ 9 ประการ คือ

• หน้าที่ใช้สอย ( FUNCTION)

• ความปลอดภัย (SAFETY)

• ความแข็งแรง (CONSTRUCTION)

• ความสะดวกสบายในการใช้ (ERGONOMICS)

• ความสวยงาม (AESTHETIES)

• ราคาพอสมควร (COST)

• การซ่อมแซมง่าย (EASE OF MAINTENANCE)

• วัสดุและการผลิต (MATERIALS AND PRODUCTION)

• การขนส่ง (TRANSPORTATION)



1 หน้าที่ใช้สอย 

หน้าที่ใช้สอยถือเป็นหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกที่ต้องคำนึงผลิตภัณฑ์ทุกชนิดต้องมีหน้าที่ใช้สอยถูกต้องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย ผลิตภัณฑ์นั้นถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) แต่ถ้าหากผลิตภัณฑ์ใดไม่สามารถสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์นั้นก็จะถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยไม่ดีเท่าที่ควร (LOW FUNTION)

สำหรับคำว่าประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) นั้น ดลต์ รัตนทัศนีย์ ( 2528 : 1) ได้กล่าวไว้ว่า เพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจขอให้ดูตัวอย่างการออกแบบมีดหั่นผักแม้ว่ามีดหั่นผักจะมีประสิทธิภาพในการหั่นผักให้ขาดได้ตามความต้องการ แต่จะกล่าวว่า มีดนั้นมีประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) ยังไม่ได้ จะต้องมีองค์ประกอบอย่างอื่นร่วมอีกเช่น ด้ามจับของมีดนั้นจะต้องมีความโค้งเว้าที่สัมพันธ์กับขนาดของมือผู้ใช้ ซึ่งจะเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการหั่นผักด้วย และภายหลังจากการใช้งานแล้วยังสามารถทำความสะอาดได้ง่าย การเก็บและบำรุงรักษาจะต้องง่ายสะดวกด้วย ประโยชน์ใช้สอยของมีดจึงจะครบถ้วนและสมบูรณ์

เรื่องหน้าที่ใช้สอยนับว่าเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนซับซ้อนมาก ผลิตภัณฑ์บางอย่างมีประโยชน์ใช้สอยตามที่ผู้คนทั่วๆ ไปทราบเบื้องต้นว่า มีหน้าที่ใช้สอยแบบนี้ แต่ความละเอียดอ่อนที่นักออกแบบได้คิดออกมานั้นได้ตอบสนองความสะดวกสบายอย่างเต็มที่ เช่น มีดในครัวมีหน้าที่หลักคือใช้ความคมช่วยในการหั่น สับ แต่เราจะเห็นได้ว่ามีการออกแบบมีดที่ใช้ในครัวอยู่มากมายหลายแบบหลายชนิดตามความละเอียดในการใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะที่แตกต่างเช่น มีดสำหรับปอกผลไม้ มีดแล่เนื้อสัตว์ มีดสับกระดูก มีดบะช่อ มีดหั่นผัก เป็นต้น ซึ่งก็ได้มีการออกแบบลักษณะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน ถ้าหากมีการใช้มีดอยู่ชนิดเดียวแล้วใช้กันทุกอย่างตั้งแต่แล่เนื้อ สับบะช่อ สับกระดูก หั่นผัก ก็อาจจะใช้ได้ แต่จะไม่ได้ความสะดวกเท่าที่ควร หรืออาจได้รับอุบัติเหตุขณะที่ใช้ได้ เพราะไม่ใช่ประโยชน์ใช้สอยที่ได้รับการออกแบบมาให้ใช้เป็นการเฉพาะอย่าง

การออกแบบเก้าอี้ก็เหมือนกัน หน้าที่ใช้สอยเบื้องต้นของเก้าอี้ คือใช้สำหรับนั่ง แต่นั่งในกิจกรรมใดนั่งในห้องรับแขก ขนาดลักษณะรูปแบบเก้าอี้ก็เป็นความสะดวกในการนั่งรับแขก พูดคุยกัน นั่งรับประทานอาหาร ขนาดลักษณะเก้าอี้ก็เป็นความเหมาะสมกับโต๊ะอาหาร นั่งเขียนแบบบนโต๊ะเขียนแบบ เก้าอี้ก็จะมีขนาดลักษะณที่ใช้สำหรับการนั่งทำงานเขียนแบบ ถ้าจะเอาเก้าอี้รับแขกมาใช้นั่งเขียนแบบ ก็คงจะเกิดการเมื่อยล้า ปวดหลัง ปวดคอ แล้วนั่งทำงานได้ไม่นาน ตัวอย่างดังกล่าวต้องการที่จะพูดถึงเรื่องของหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและละเอียดอ่อนมาก ซึ่งนักออกแบบจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด

2 ความปลอดภัย 

สิ่งที่อำนวยประโยชน์ได้มากเพียงใด ย่อมจะมีโทษเพียงนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสะดวกต่างๆ มักจะเกิดจากเครื่องจักรกลและเครื่องใช้ไฟฟ้า การออกแบบควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องแสดงเครื่องหมายไว้ให้ชัดเจนหรือมีคำอธิบายไว้

ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก ต้องคำนึงถึงวัสดุที่เป็นพิษเวลาเด็กเอาเข้าปากกัดหรืออม นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้เป็นสำคัญ มีการออกแบบบางอย่าง ต้องใช้เทคนิคที่เรียกว่าแบบธรรมดา แต่คาดไม่ถึงช่วยในการให้ความปลอดภัย เช่น การออกแบบหัวเกลียววาล์ว ถังแก๊ส หรือปุ่มเกลียว ล็อกใบพัดของพัดลม จะมีการทำเกลียวเปิดให้ย้อนศรตรงกันข้ามกับเกลียวทั่วๆ ไป เพื่อความปลอดภัย สำหรับคนที่ไม่ทรายหรือเคยมือไปหมุนเล่นคือ ยิ่งหมุนก็ยิ่งขันแน่น เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้

3 ความแข็งแรง 

ผลิตภัณฑ์จะต้องมีความแข็งแรงในตัวของผลิตภัณฑ์หรือโครงสร้างเป็นความเหมาะสมในการที่นักออกแบบรู้จักใช้คุณสมบัติของวัสดุและจำนวน หรือปริมาณของโครงสร้าง ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะต้องมีการรับน้ำหนัก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ต้องเข้าใจหลักโครงสร้างและการรับน้ำหนัก อีกทั้งต้องไม่ทิ้งเรื่องของความสวยงามทางศิลปะ เพราะมีปัญหาว่า ถ้าใช้โครงสร้างให้มากเพื่อความแข็งแรง จะเกิดสวนทางกับความงาม นักออกแบบจะต้องเป็นผู้ดึงเอาสิ่งสองสิ่งนี้เข้ามาอยู่ในความพอดีให้ได้

ส่วนความแข็งแรงของตัวผลิตภัณฑ์เองนั้นก็ขึ้นอยู่ที่การออกแบบรูปร่างและการเลือกใช้วัสดุ และประกอบกับการศึกษาข้อมูลการใช้ผลิตภัณฑ์ว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องรับน้ำหนักหรือกระทบกระแทกอะไรหรือไม่ในขณะใช้งานก็คงต้องทดลองประกอบการออกแบบไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ความแข็งแรงของโครงสร้างหรือตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากเลือกใช้ประเภทของวัสดุ โครงสร้างที่เหมาะสมแล้วยังต้องคำนึงถึงความประหยัดควบคู่กันไปด้วย

4 ความสะดวกสบายในการใช้ 

นักออกแบบต้องศึกษาวิชากายวิภาคเชิงกลเกี่ยวกับสัดส่วน ขนาด และขีดจำกัดที่เหมาะสมสำหรับอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งจะประกอบด้วยความรู้ทางด้านขนาดสัดส่วนมนุษย์ (ANTHROPOMETRY) ด้านสรีรศาสตร์ (PHYSIOLOGY) จะทำให้ทราบ ขีดจำกัด ความสามารถของอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ เพื่อใช้ประกอบการออกแบบ หรือศึกษาด้านจิตวิทยา (PSYCHOLOGY) ซึ่งความรู้ในด้านต่างๆ ที่กล่าวมานี้ จะทำให้นักออกแบบ ออกแบบและกำหนดขนาด (DIMENSIONS) ส่วนโค้ง ส่วนเว้า ส่วนตรง ส่วนแคบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างพอเหมาะกับร่างกายหรืออวัยวะของมนุษย์ที่ใช้ ก็จะเกิดความสะดวกสบายในการใช้การไม่เมื่อยมือหรือเกิดการล้าในขณะที่ใช้ไปนานๆ ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาวิชาดังกล่าว ก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้ต้องใช้อวัยวะร่างกายไปสัมผัสเป็นเวลานาน เช่น เก้าอี้ ด้าม เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ การออกแบบภายในห้องโดยสารรถยนต์ ที่มือจับรถจักรยาน ปุ่มสัมผัสต่างๆ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ยกตัวอย่างมานี้ถ้าผู้ใช้ผู้ใดได้เคยใช้มาแล้วเกิดความไม่สบายร่างกายขึ้น ก็แสดงว่าศึกษากายวิภาคเชิงกลไม่ดีพอแต่ทั้งนี้ก็ต้องศึกษาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้ดีก่อน จะไปเหมาว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ดี เพราะผลิตภัณฑ์บางชนิดผลิตมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งออกแบบโดยใช้มาตรฐานผู้ใช้ของชาวตะวันตก ที่มีรูปร่างใหญ่โตกว่าชาวเอเชีย เมื่อชาวเอเชียนำมาใช้อาจจะไม่พอดีหรือหลวม ไม่สะดวกในการใช้งาน นักออกแบบจึงจำเป็นต้องศึกษาสัดส่วนร่างกายของชนชาติหรือเผ่าพันธุ์ที่ใช้ผลิตภัณฑ์เป็นเกณฑ์

5 ความสวยงาม 

ผลิตภัณฑ์ในยุคปัจจุบันนี้ความสวยงามนับว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหน้าที่ใช้สอยเลย ความสวยงามจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อเพราะประทับใจ ส่วนหน้าที่ใช้สอยจะดีหรือไม่ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งคือใช้ไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดข้อบกพร่องในหน้าที่ใช้สอยให้เห็นภายหลัง ผลิตภัณฑ์บางอย่างความสวยงามก็คือ หน้าที่ใช้สอยนั่นเอง เช่น ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ของโชว์ตกแต่งต่างๆ ซึ่งผู้ซื้อเกิดความประทับใจในความสวยงามของผลิตภัณฑ์ ความสวยงามจะเกิดมาจากสิ่งสองสิ่งด้วยกันคือ รูปร่าง (FORM) และสี (COLOR) การกำหนดรูปร่างและสี ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่เหมือนกับการกำหนด รูปร่าง สี ได้ตามความนึกคิดของจิตรกรที่ต้องการ แต่ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นในลักษณะศิลปะอุตสาหกรรมจะทำตามความชอบ ความรู้สึกนึกคิดของนักออกแบบแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้จำเป็นต้องยึดข้อมูลและกฎเกณฑ์ผสมผสานรูปร่างและสีสันให้เหมาะสม

ด้วยเหตุของความสำคัญของรูปร่างและสีที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ นักออกแบบจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาวิชา ทฤษฏีหรือหลีกการออกแบบและวิชาทฤษฏีสี ซึ่งเป็นวิชาทางด้านของศิลปะแล้วนำมาประยุกต์ผสานใช้กับศิลปะทางด้านอุตสาหกรรมให้เกิดความกลมกลืน

6 ราคาพอสมควร 

ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาขายนั้นย่อมต้องมีข้อมูลด้านผู้บริโภคและการตลาดที่ได้ค้นคว้าและสำรวจแล้ว ผลิตภัณฑ์ย่อมจะต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้ว่าเป็นคนกลุ่มใด อาชีพฐานะเป็นอย่างไร มีความต้องการใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นี้เพียงใด นักออกแบบก็จะเป็นผู้กำหนดแบบผลิตภัณฑ์ ประมาณราคาขายให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่จะซื้อได้การจะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเหมาะสมกับผู้ซื้อนั้น ก็อยู่ที่การเลือกใช้ชนิดหรือเกรดของวัสดุ และเลือกวิธีการผลิตที่ง่ายรวดเร็ว เหมาะสม

อย่างไรก็ดี ถ้าประมาณการออกมาแล้ว ปรากฏว่า ราคาค่อนข้างจะสูงกว่าที่กำหนดไว้ ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาองค์ประกอบด้านต่างๆ กันใหม่ แต่ก็ยังต้องคงไว้ซึ่งคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้น เรียกว่าเป็นวิธีการลดค่าใช้จ่าย

7 การซ่อมแซมง่าย 

หลักการนี้คงจะใช้กับผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกล เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีกลไกภายในซับซ้อน อะไหล่บางชิ้นย่อมต้องมีการเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งานหรือการใช้งานในทางที่ผิด นักออกแบบย่อมที่จะต้องศึกษาถึงตำแหน่งในการจัดวางกลไกแต่ละชิ้นตลอดจนนอตสกรู เพื่อที่จะได้ออกแบบส่วนของฝาครอบบริเวณต่างๆ ให้สะดวก ในการถอดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ง่าย

8 วัสดุและวิธีการผลิต 

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ผลิตด้วยวัสดุสังเคราะห์ อาจมีกรรมวิธีการเลือกใช้วัสดุและวิธีผลิตได้หลายแบบ แต่แบบหรือวิธีใดถึงจะเหมาะสมที่สุด ที่จะไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าที่ประมาณ ฉะนั้น นักออกแบบคงจะต้องศึกษาเรื่องวัสดุและวิธีผลิตให้ลึกซึ้ง โดยเฉพาะวัสดุจำพวกพลาสติกในแต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติทางกายภาพที่ต่างกันออกไป เช่น มีความใส ทนความร้อน ผิวมันวาว ทนกรดด่างได้ดี ไม่ลื่น เป็นต้น ก็ต้องเลือกให้คุณสมบัติดังกล่าวให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่พึงมียิ่งในยุคสมัยนี้ มีการรณรงค์ช่วยกันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการใช้วัสดุที่นำกลับหมุนเวียนมาใช้ใหม่ ก็ยิ่งทำให้นักออกแบบย่อมต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกคือ เป็นผู้ช่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการเลือกใช้วัสดุที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ ที่เรียกว่า รีไซเคิล

9 การขนส่ง 

นักออกแบบต้องคำนึงถึงการประหยัดค่าขนส่ง การขนส่งสะดวกหรือไม่ ระยะใกล้หรือระยะไกลกินเนื้อที่ในการขนส่งมากน้อยเพียงใด การขนส่งทางบกทางน้ำหรือทางอากาศต้องทำการบรรจุหีบห่ออย่างไร ถึงจะทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่เกิดการเสียหายชำรุด ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกสินค้าหรือเนื้อที่ที่ใช้ในการขนส่งมีขนาด กว้าง ยาว สูง เท่าไหร่ เป็นต้น หรือในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ที่ทำการออกแบบมีขนาดใหญ่โตยาวมาก เช่น เตียง หรือพัดลมแบบตั้งพื้น นักออกแบบก็ควรที่จะคำนึงถึงเรื่องการขนส่ง ตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบกันเลย คือ ออกแบบให้มีชิ้นส่วน สามารถถอดประกอบได้ง่าย สะดวก เพื่อทำให้หีบห่อมีขนาดเล็กสุดสามารถบรรจุได้ในลังที่เป็นขนาดมาตรฐาน เพื่อการประหยัดค่าขนส่ง เมื่อผู้ซื้อซื้อไปก็สามารถที่จะขนส่งได้ด้วยตนเองนำกลับไปบ้านก็สามารถประกอบชิ้นส่วนให้เข้ารูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้โดยสะดวกด้วยตนเอง

เรื่องหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้กล่าวมาทั้ง 9 ข้อนี้เป็นหลักการที่นักออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงเป็นหลักการทางสากลที่ได้กล่าวไว้ในขอบเขตอย่างกว้าง ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ไว้ทั่วทุกกลุ่มทุกประเภทในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดนั้น อาจจะไม่ต้องคำนึงหลักการดังกล่าวครบทุกข้อก็ได้ ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์บางชนิดก็อาจจะต้องคำนึงถึงหลักการดังกล่าวครบถ้วนทุกข้อ เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้แขวนเสื้อ ก็คงจะเน้นหลักการด้านประโยชน์ใช้สอย ความสะดวกในการใช้และความสวยงามเป็นหลัก คงจะไม่ต้องไปคำนึงถึงด้านการซ่อมแซม เพราะไม่มีกลไกซับซ้อนอะไร หรือการขนส่ง เพราะขนาดจำกัดตามประโยชน์ใช้สอยบังคับ เป็นต้น ในขณะที่ผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์รถยนต์ ก็จำเป็นที่นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ครบทั้ง 9 ข้อ เป็นต้น
























4.กระบวนการเทคโนโลยี



กระบวนการเทคโนโลยี
หมายถึง กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล
เพื่อกระทำให้เป็นสารสนเทศ  การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันต่อเหตุการณ์

กระบวนการเทคโลยีสารสนเทศ

มีขั้นตอน 6 ขั้นดังนี้
 1.การรวบรวมข้อมูล
 2 การตรวจสอบข้อมูล
 3การประมวลผลข้อมูล
 4การจัดเก็บข้อมูล
 5การคิดวิเคราะห์
 6การนำข้อมูลไปใช้
     1.การรวบรวมข้อมูล
        วิธีการดำเนินการ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล และบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
   เพื่อการประมวลผล เช่น บันทึกในแฟ้ม    เอกสาร  บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ จดบันทึก
  ไว้ในสมุด  เป็นต้น
    2 การตรวจสอบข้อมูล
  ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น การตรวจสอบ เพื่อหาข้อผิดพลาด  ความน่าเชื่อถือ  ความสมเหตุสมผล  เพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับการรวบรวมและบันทึกไว้อย่างถูกต้อง

                      3การประมวลผลข้อมูล
               หมายถึง วิธีการดำเนินการกระทำข้อมูล
               ให้เป็นสารสนเทศ
                  ข้อมูล    การประมวลผล       สารสนเทศ
     ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข  ข้อความ  รูปภาพ  เสียง  
ที่เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่างๆหรือสิ่งที่ยอมรับ
ว่าเป็นความจริง  สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาค
      สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล หรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้ เช่น     ปริมาณการขายสินค้าแต่ละตัว จำแนกตามเขตการขาย

การนำข้อมูลไปประมวลผลมีด้วยกันหลายวิธี แต่มีวิธีง่ายๆ 
     สำหรับนักเรียนที่จะใช้ศึกษาในเบื้องต้น 4  วิธีคือ
     1. การจัดเรียง คือ การนำข้อมูลหลาย ๆ ข้อมูลมาจัดเรียงลำดับตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น จัดเรียง  ข้อมูลชื่อตามตัวอักษร จัดเรียงข้อมูลคะแนนจากมากไปหาน้อย เป็นต้น
    2. การหาค่าเฉลี่ย คือ การนำเอาข้อมูลมาเฉลี่ย เช่น การนำเอาคะแนนสอบรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศมาหาค่าเฉลี่ยเป็นต้น 
   3. การเปรียบเทียบ คือ การนำเอาข้อมูลประเภทเดียวกันมาเปรียบเทียบเพื่อหาค่าแตกต่างหรือความเหมือนกัน 
   4. การหาแนวโน้ม คือ การนำเอาข้อมูลประเภทเดียวกันมาเปรียบเทียบตามระยะเวลา เช่น นำคะแนนของนักเรียนคนหนึ่งมาเปรียบเทียบกับคะแนนของตนเองในช่วงการสอบย่อยในช่วงของการสอบย่อยต่าง ๆ

     4การจัดเก็บข้อมูล
การเก็บรักษาข้อมูลเพื่อการบริหาร 
โดยเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ

    5การคิดวิเคราะห์
ขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อสรุป
ความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศ  
ให้ตรงสภาพที่เป็นจริงตรงตามวัตถุประสงค์  
ก่อนที่จะนำข้อมูลมาใช้

       6การนำข้อมูลไปใช้
  การนำข้อมูลไปใช้ในลักษณะต่างๆ

•ประโยชน์ของสารสนเทศ
           1. ใช้ในการวางแผนการบริหาร
           2. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
           3. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
           4. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน

การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
 เหมาะกับระบบงานที่ต้องทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง  และมีปริมาณงานมากหรืองานที่ต้องการความรวดเร็ว ในการคำนวณเกินกว่าคนธรรมดาจะทำได้ 
       วิธีการโดยทั่วไป คือ ปรับเปลี่ยนวิธีการหรือระบบการทำงานแบบเดิม มาใช้ระบบงานที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำงานเป็นบางส่วน หรือทั้งหมด เท่าที่สามารถจะทำแทนคนได้
 ดังนั้น การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงต้อง
มีการสร้างระบบงานคอมพิวเตอร์ขึ้นมาช่วยทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วิธีการโดยทั่วไป เราอาจไม่ต้องสร้างระบบงานทั้งหมดขึ้นใหม่ แต่พัฒนาระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานที่ทำงานโดยคอมพิวเตอร์
นิยมเรียกกันว่า การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์

  การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
        1.1 ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ 
มีการจัดขั้นตอนการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศดังนี้
        1. วิเคราะห์ระบบงานหรือปัญหา ( System or problem analysis ) รวมถึงรายละเอียดข้อมูลที่ต้องใช้โดยการศึกษาระบบงานเดิมอย่างละเอียด
        2. กำหนดรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้ระบบงาน 
( Require-ments specification ) 
        3. ออกแบบขั้นตอนวิธีการทำงานของระบบใหม่
        4. ตรวจสอบขั้นตอนวิธีให้ได้ผลตามความต้องการ
        5. ออกแบบโปรแกรม ( Program design
        6.เขียนชุดคำสั่ง ( Coding )
        7. ทดสอบโปรแกรม ( Testing )และหาที่ผิดพลาด(Debuugging)
        8. นำโปรแกรมและระบบงานไปใช้งานจริง ( Implementation oroperation)
        9. บำรุงรักษา ติดตามผล แก้ไขปรับปรุง ( Software maintenance and improvement ) เพื่อให้ทันสมัยใช้ได้ตลอดไป 
                               จะเห็นว่าการพัฒนาระบบสารสนเทศ จำเป็นจะต้องรู้ขั้นตอน
               วิธีการทำงานของระบบเดิม ตามด้วยการหาวิธีการแก้ปัญหา
               โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรม จากนั้นจึงออกแบบ
               วิธีการทำงานในระบบใหม่ให้ระเอียดซึ่งจะต้องมีการสร้าง
               โปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาช่วยทำงานบางส่วนหรือทั้งหมด

           1.2 ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานโดยการจัดซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป 
ในกรณีที่เราไม่ได้พัฒนาโปรแกรมเอง แต่เป็นการจัดซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้งาน เราอาจปรับเปลี่ยนขั้นตอนมาเป็นดังนี้
       1. วิเคราะห์ปัญหาและระบบงานที่จะทำ (System or problem analysis) รวมถึงรายละเอียดข้อมูลที่มีอยู่
       2. กำหนดรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้ระบบงาน 
(Require-ments specification)
 3. ออกแบบขั้นตอนวิธีการทำงานของระบบใหม่
4. ตรวจสอบขั้นตอนวิธีว่าให้ผลตรงกับที่ต้องการ
5. จัดหาโปรแกรมที่ทำงานตรงตามความต้องการ โดยการซื้อหรือจ้างทำ
6. นำโปรแกรมและระบบงานไปใช้จริง (Implementation oroperation)
7. บำรุงรักษาระบบ ติดตามผลและแก้ไขปรับปรุง